Song name : Symphonie No.7 ของ Beethoven

Note เกี่ยวกับ Beethoven
เบโธเว่น (Beethoven ชื่อเต็มของเขาคือ Ludwig Van Beethoven)
เป็นชาวเยอรมัน เกิดที่กรุงบอน์น เมื่อปี ค.ศ. 1770
มีชีวิตในวัยเด็กที่ขี้อาย ไม่น่ารัก และน่าสงสาร เพราะยากจน และมีพ่อที่มีอารมณ์ร้าย

เขาถูกบังคับเรียนดนตรีตั้งแต่ยังเล็ก เพราะพ่อของเขาต้องการให้เขาเป็นนักดนตรีที่เก่งแบบ Mozart
(คุณอาจคิดว่า .. แหมโชคดีจังได้เรียนดนตรี บางคนอยากเรียนยังไม่มีโอกาสเลย แต่อ่านต่อไปก่อน)

สำหรับ Beethoven แม้แล้วในยามดึกดื่น หลังจากที่พ่อของเขากลับมาจากการทำงาน
บางครั้งเขาก็ยังต้องถูกปลุกขึ้นมาให้เรียนดนตรี หรือเล่นดนตรีให้ฟัง
ทั้งที่ยังงัวเงียอยู่ (ยังคิดว่าเค้าโชคดีอยู่อีกไหม เราคิดว่านั่นน่ะ
เป็นสาเหตุที่ทำให้เค้าเป็นคนแปลกๆ อยู่หน่อยๆ นะ -_-”)

สไตล์เพลงที่เขาประพันธนั้น หนักแน่น รุนแรง มีท่วงท่าในการบรรเลงที่เต็มไปด้วยความรู้สึก
เมื่อมีชื่อเสียงก็มียิ่งขาดความสุภาพอ่อนโยนและเต็มไปด้วยความเชื่อมั่นในตนเอง
แต่ผู้คนก็พร้อมจะมองข้ามข้อเสียเหล่านั้นไป ด้วยความที่ชื่นชมในความสามารถทางดนตรีของเขา (-_-”)

มีเรื่องไม่น่าเชื่ออย่างนึง คือ.. Beethoven นั้นมี Immortal Love (รักฝังใจ) กับใครคนหนึ่ง
(โดยปกติเรามักได้ยินกิตติศัพท์ของ นักดนตรี กวี และศิลปินกันอยู่ว่า..
มากรักแค่ไหน เพราะพวกเขามักเป็นคนอ่อนไหวง่าย -_-”)

จากกล่องจดหมายของ Beethoven ที่ถูกค้นพบหลังจากที่เค้าเสียชีวิตลง 
มีจดหมายที่เขาเขียนถึงคนผู้หนึ่งที่รักอย่างยากหักใจลืม และถึงแม้ว่าเขาจะมีสัมพันธ์กับหญิงมากมาย
(ส่วนมากเป็นหญิงในวงสังคมชั้นสูง ที่มีสามีแล้ว) เขาก็มีรักฝั่งใจกับบุคคลในจดหมายนั้น 
แม้ว่าจะตามแกะรอยไปถึงคนที่คาดว่าจะเป็นรักฝังใจของ Beethoven ก็ไม่พบหลักฐานใด
ที่บ่งบอกว่าคนผู้นั้นจะใช่คนในจดหมายอย่างแท้จริง

อยากอ่านข้อความในจดหมายของ Beethoven
ติดตามได้ที่.. หนังสือ ดนตรีแห่งชีวิต โดย สุรพงษ์ บุนนาค 🙂

 

[ จาก pokky ] 
นั่นคงเป็นรักที่ซ่อนเร้นมาก เพราะแม้แต่ชื่อของคนผู้นั้นก็ไม่พบในจดหมาย

น่าจะผู้หญิงที่มีชื่อเสียงมาก (ไม่น่าจะเป็นผู้ชายนะ ในจดหมายเขาคงใช้คำว่า She ^^”)
เพราะการที่เขาไม่เขียนชื่อคนที่ตัวเองรักลงในจดหมายก็แปลว่า เค้าต้องการปกป้องชื่อของคนผู้นั้น

.. นึกดูว่า .. ปกติเวลาเราบอกรักใครก็ควรบอกชื่อเค้าไปในประโยคนะ 

คนปกติเค้าทำกัน เช่น รักติ๊ก รักต้อย รักติ๋ม เป็นต้น ^^” (แบบ Beethoven เรียกว่าคนปกติไหม??)

ความลับ ถ้าคุณอยากให้เป็นความลับ คุณก็ต้องไม่บอกใคร และเก็บมันไว้จนตายไปกับคุณนั่นล่ะ

ในกรณีนี้เข้าใจว่า Beethoven คงตั้งใจเช่นนั้น และดูเหมือนว่าเค้าทำสำเร็จเสียด้วย 😉

Note เกี่ยวกับ Symphony
Symphony มาจากคำว่า Symfonia (ซิมโฟเนีย) ในต้นศตวรรษที่ 17 
ซึ่งหมายถึง คีตนิพนธ์ขนาดเล็ก ที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี 2-3 ชิ้น
ส่วนคำว่า Symphony นั้นถูกนำมาใช้อย่างจริงจังในศตวรรษที่ 17 
เป็น (ซิมโฟเนีย) ที่ไม่จำกัดเครื่องดนตรีในการบรรเลง

แนวทางของการบรรเลง Symphony นั้นเป็นลักษณะของการบรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าเต็มวง
ตามปกติมีลีลาการบรรเลง 4 Movement โดย Movement ที่ 1 มีจังหวะเร็ว มีชีวิตชีวา, 
Movement ที่ 2 มีความอ่อนหวานแบบเพลงร้อง , Movement ที่ 3 มีลักษณะเป็นจังหวะเต้นรำ รื่นเริง 
และ Movement ที่ 4 มีชีวิตชีวา

สำหรับแนวทางการบรรเลง Symphony ของ Beethoven 
ตั้งแต่หมายเลข 3 ขึ้นไป Movement ไม่ได้เป็นตามฟอร์มของ Symphony ทั่วไป 
โดยแต่ละ Movement จะมีโครงสร้งที่ใหญ่ขึ้น มีสีสรรมากขึ้นมีพลังและหนักแน่นมากขึ้น

หมายเหตุ
– ลักษณะต่างๆ ของการร้องประสานเสียงและร้องเดี่ยว ,การบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี
และการบรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้านั้น ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ อีกมาก สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่..
หนังสือ สังคีตนิยมเบื้องต้นว่าด้วยเพลงคลาสสิค / สมโภช รอดบุญ. พิมพลักษณ์ กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์, 2518. 

– ประวัติเบโธเว่น (Beethoven) สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ..
หนังสือ ดนตรีแห่งชีวิต โดย สุรพงษ์ บุนนาค,
หนังสือ นักดนตรีเอกของโลก โดย ทวี มุขธระโกษา และสมชัย หงษ์ทองคำ

หลังจากที่ได้อ่านประวัติของ Beethoven แล้ว ไม่สงสัยเลยว่า .. ทำไม Nodame Cantabile
ถึงได้เลือกบทเพลงของ Beethoven มาเป็น Theme Song ^^
“เค้าอยากด้าย cd audio แผ่นแท้ ost Nodame Cantabile จังเยย
เสียงมานต้องอาลังการมากแน่ๆ อ๊างงง” (เลียนแบบสำเนียงพูดของ Nodameจัง)
จะไปหาซื้อได้ที่ไหนยังไม่รู้เลย หรือถ้าหาเจอมันต้องแผ่นละเกิน 1,000 บ. แหง T_T
 

Note เกี่ยวกับ Symphonie No.7 ของ Beethoven
เพลงถูกแต่งขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1811 และแต่งเสร็จในปี ค.ศ. 1812 ซึ่งเป็นช่วงที่ยุโรปมีเหตุการณ์สงครามนองเลือด
และกรุงเวียนนาที่ Beethoven อาศัยอยู่ในช่วงนั้น ก็ถูกนโปเลียนยึดครองอยู่

บทเพลงนี้เต็มไปด้วย สีสรร พลัง อำนาจ และความเร้าใจ จากเสียงกลองกระหึ่ม 
ในปี ค.ศ. 1813 เขาได้นำเพลงนี้ออกแสดงเพื่อหาเงินช่วยเหลือทหารชาวออสเตรียที่บาดเจ็บ
จากการสู้รบกับฝรั่งเศส โดยเขาเป็นผู้นำวงเองอีกด้วย

ในปี ค.ศ. 2006 ถูกใช้เป็น Theme Song ของละครญี่ปุ่นเรื่อง Nodame Cantabile
(ถ้าไม่ได้หูฟาด รู้สึกว่าจะถูกใช้เป็นเพลงประกอบโฆษณาขนมยี่ห้อหนึ่ง ในประเทศไทยด้วย -.-)

Note เกี่ยวกับละครเรื่อง Nodame Cantabile
[ ตัว คาตาคานะ (ที่เอาไว้ใช้เขียนภาษาญี่ป่นทับศัพท์ภาษาอังกฤษ) 
อ่านได้ว่า kan-taa-bi-re อ่ะ ไม่รู้มาจากภาษาอังกฤษคำว่าอะไร -_-” 
ใครร้ช่วยชี้แนะด้วย เห็นหน้าปกซีดีเขียนว่า Cantabile ]

สร้างมาจากการ์ตูนชื่อเดียวกัน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า .. 
ญี่ปุ่นเค้าทำละครสไตล์ Over Acting ได้น่าดูจริงๆ

ตอนที่ดู Chapter 1-3 จบอยากจะ . .
กรี้ดดด ดังๆ แล้วพูดว่า . . “สนุกมากกกกกกกกกกกก”
ในละครจะมีเพลงคลาสสิคดังๆ เป็นเพลงประกอบอยู่ตลอดทั้งเรื่อง
ที่รู้ว่าดัง เพราะเคยได้ยินเพลงพวกนี้ค้นๆ หูอยู่
แต่เพลงคลาสสิคที่ได้ฟังผ่านๆ มา ไม่เคยทำให้รู้สึกสนุกเท่านี้มาก่อน
เป็นละครที่ให้ชีวิตชีวา และมีพลังจริงๆ 
นึกอยากฟังเพลงคลาสสิคอีกหลายๆ เพลง (เพลงละหลายๆ รอบ)
หรือไปเรียนเปียโนซะเดี๋ยวนั้นเลย (ถ้าทำได้)

ตอนที่ดู Chapter 4 จบ .. รู้สึกว่า.. บ้าเอ๊ยยย
Beethoven Symphonie No.7 ทำให้น้ำตาไหลด้วยความตื้นตัน
เพราะอะไร ??!! ด้วยเนื้อหาของละคร หรือของดนตรีกันแน่นะ
อย่างนี้สิเค้าถึงเรียกว่า .. สไตล์การเล่นสดของจริง .. ประทับใจสุดๆ 
[ หรือว่าเราอ่อนไหวมากเกินไป แต่ยังไงก็อ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอละฟระ ]

คนที่ชอบดนตรี ถ้าได้ดูละครเรื่องนี้ต้องชอบแน่ๆ
ถ้าดูแล้วไม่หัวใจเต้นด้วยความอิ่มเอมในสัมผัสที่ได้รับทางโสตประสาทละก็ . .
อาจต้องคิดใหม่แล้วว่า . . ข้างในหัวใจคุณมีเสียงดนตรีดังอยู่จริงหรือเปล่า
อยากพิสูจน์ดูหน่อยไหม กับละครเรื่อง Nodame Cantabile

ระหว่างดู . . กรุณาเปิด Volume ดังๆ
เพราะเราอยากให้คุณได้ยินเพลงประกอบละครชัดๆ (จริงๆ นะ)

สิ่งที่เราได้รับจากละครเรื่องนี้ เมื่อดูจบไป 4 Chapters คือ ..
อย่าลืม!! สนุกกับการได้ทำในสิ่งที่คุณรัก แล้วมันจะออกมาดีเอง ( ^^ )
เพราะมันจะโดดเด่นกว่าใครๆ แม้ว่ามันจะเป็นสิ่งเดียวกันกับที่คนอื่นทำก็ตาม

[ อันนี้ pokky คิดเองเก๋ไหม ^0^ ]
นิยามของพระเอกละคร (ญี่ปุ่น) ที่สร้างจากการ์ตูน (ตาหวาน) คือ..
เท่และดูดีได้ด้วย.. ความสามารถ+บุคลิคการแสดงออกและนิสัย 
ดูอบอุ่นและน่าหลงใหลได้โดยไม่ต้องมีกล้าม (ก็คนนี่นาไม่ใช่ปู ฮา~)

ps.
เนื้อหาส่วนมากเอามาจากหนังสือ
ตอนหาข้อมูล Mozart ทำ mini report ส่งอาจารย์ ยังไม่หาข้อมูลมากขนาดนี้เลย >.<
ถ้าหาชีทเพลงมาให้ดูด้วยได้ก็คงดีไม่น้อยเลยเนอะ Party



 Sun ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
– ความหมายของคำว่า “คลาสสิค” : http://yalor.yru.ac.th/~jaran/data/content/index.htm
– ประวัติของ Beethoven จาก wikipedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Ludwig_van_Beethoven
– Symphony No.7 จาก wikipedia : http://en.wikipedia.org/wiki/Symphony_No._7_(Beethoven)

Sun เกี่ยวกับ Nodame Cantabile
http://wiki.d-addicts.com/Nodame_Cantabile
http://en.wikipedia.org/wiki/Nodame_Cantabile
http://forums.popcornfor2.com/index.php?showtopic=26028&st=0